บทบาทหน้าที่ของ อบต.
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวดที่ ๒ การ กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มีหน้าที่ดังนี้
ตามมาตรา ๑๖ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
• การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
• การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
• การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
• การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
• การสาธารณูปการ
• การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
• การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
• การส่งเสริมการท่องเที่ยว
• การจัดการศึกษา
• การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
• การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
• การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
• การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
• การส่งเสริมกีฬา
• การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
• ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
• การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
• การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
• การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
• การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
• การควบคุมการลี้ยงสัตว์
• การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
• การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ สาธารณสถานอื่น ๆ
• การจัดการการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• การผังเมือง
• การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
• การดูแลรักษาที่สาธารณะ
• การควบคุมอาคาร
• การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
• การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
• กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๗ ) พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามมาตรา ๖๖ องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม
|